คำถามพบบ่อย
คลิกหัวข้อที่สนใจเพื่ออ่านรายละเอียด
วิธีเลือกซื้อมอเตอร์ไซค์มือสองเบื้องต้น
- เลือกแบบรถที่เราต้องการ เช่น ยี่ห้อ รุ่นรถ สี 🏍️
- เลือกราคา กำหนดงบประมาณสูงสุดของการซื้อ 💰
-
เลือกร้านค้าที่ไว้ใจได้ โดยดูจาก
- ดูสภาพร้าน ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ
- จำนวนรถให้เลือกของร้าน แสดงว่าเป็นมืออาชีพ
- ศูนย์จำหน่ายมือสองที่ได้รับการรับรองจากบริษัทต่างๆ
- ตรวจสอบบริการหลังการขาย
- มีระบบการปล่อยให้เช่าซื้อพร้อมดำเนินการ
- เลือกร้านที่มีการรับประกันด้วย
- การซื้อขายต้องมีหลักฐาน เซ็นสัญญา ทุกขั้นตอน รวมทั้งประกันต่างๆ
-
ตรวจสอบดูรถคันที่เราสนใจกันเบื้องต้น
- ตรวจสอบสีและรอยต่างๆ
- ทดสอบเครื่องยนต์ต้องไม่ขัดข้องหรือมีเสียงดังผิดปกติ
- ทดสอบระบบไฟต่างๆ ให้ครบถ้วน รวมทั้งระบบแตรและน้ำมัน
- ตรวจสอบระบบโชคอัพ รอยน้ำมันรั่วซึม
- ระบบการส่งกำลังและศูนย์ของรถ
- ทดลองขับขี่ด้วยตนเองก่อนซื้อรถ
- เจรจาตกลงราคาซื้อขายรถระหว่างผู้ซื้อกับเจ้าของรถ โดยพิจารณาจากสภาพรถปกติทางไฟแนนซ์จะมีราคาประเมินของรถแต่ละรุ่นเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราคารถจะส่งผลต่อเงินดาวน์ของคุณ
- เช็คประวัติการเงิน (Credit Bureau) รวมทั้งความเคลื่อนไหวทางการเงิน บัญชี การชำระหนี้ รายได้ และอาชีพ
- การจัดไฟแนนซ์รถบ้านที่ซื้อขายกันเอง ผู้ซื้อผู้ขายต้องตกลงเรื่องที่จัดไฟแนนซ์ด้วยตัวเอง โดยเตรียมเอกสารตามขั้นตอนการจัดไฟแนนซ์ให้พร้อม
- ไฟแนนซ์จะนัดผู้ขายมาตรวจสอบสภาพรถ ถ่ายรูปรถ และส่งมอบเอกสาร เพื่อนำไปประเมินราคา และอนุมัติสินเชื่อ อาจใช้เวลาประมาณ 3-7 วันในการพิจารณา
- ผู้ซื้อผู้ขายมาทำสัญญาซื้อขายกัน และโอนรถกับกรมขนส่งทางบก
- ผู้ขายจะรอรับเงินจากทางไฟแนนซ์ ส่วนผู้ซื้อก็ต้องชำระเงินดาวน์ในราคาที่ตกลงกันไว้ จึงจะสามารถรับรถได้
เอกสารที่ใช้ในการโอนมอเตอร์ไซค์
- สมุดเล่มทะเบียน ผู้โอนเซ็นชื่อลงในช่อง ผู้ถือกรรมสิทธิ์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน อย่างละ 1 ใบ เซ็นรับรองสำเนา บัตรประชาชนต้องไม่หมดอายุ
- แบบคำขอโอนและรับโอน (มีสองหน้า)
- กรณีที่ผู้โอนไม่ได้มาที่ขนส่งด้วยตัวเอง(เซ็นโอนลอย) ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
- พรบ.เดิม (ในกรณีที่ต้องการต่อ พรบ. เลย)
สำหรับรถที่ลงขายเป็นรถที่ไม่ได้ทำการยืนยันเบอร์โทรและตัวตนกับทางเว็บไซต์ ทางเราจะไม่มีหลักฐานของผู้ขาย เช่น บัตรประชาชน และรูปถ่าย
ทางเราจึงขอแนะนำว่า
-
รวบรวมหลักฐานที่เราติดต่อกับพ่อค้าแม่ค้าไว้ทั้งหมดแล้วพรินท์เอกสารออกมา เช่น
- หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ
- ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของร้านค้า
- ข้อความในแชทที่เราพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ ผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม
- หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิป, ใบนำฝาก
- สมุดบัญชีธนาคาร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา
- แจ้งความ ให้นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนกว่าจะถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน ถ้าเรามีหลักฐานครบ สามารถขอให้ทางตำรวจทำหมายเรียกแล้วส่งไปที่อยู่ตามบัตรผู้ขายได้ครับ
- สามารถขอหนังสือจากร้อยเวรที่สั่งอายัดบัญชีคนขายที่เราโอนเงินไป แล้วไปที่ธนาคาร ซึ่งธนาคารจะจัดการดำเนินเรื่องจัดส่งไปที่ธนาคารสาขานั้นๆ
- รถไม่มีเอกสารอะไรเลย
- เจอด่าน โดนยึดแน่นอน ปรับหนักเป็นหมื่นแน่นอน ถ้าอยากเอารถออกมา มันเรียกเท่าไหร่ก็ต้องให้ครับ ออกมาก็โดนได้อีกครับ
- รถมีแต่อินวอย
- อินวอย คือใบนำเข้าเครื่องเฉยๆ พวกร้านเซียงกงหรือประกอบรถจะออกให้ แน่นอนครับ มีค่าพอๆกับรถไม่มีเอกสารไรเลย โดนจับ ยึดรถครับ ปรับเป็นหมื่นเช่นกัน มันเรียกเท่าไหร่ก็ต้องให้ถ้าอยากเอารถออก ซึ่งออกมาก็อาจโดนจับซ้ำอีกได้
- รถมีอินวอย สพม. ก๊อป(ถ่ายเอกสาร)
- รถแบบนี้ ถ้าตำรวจไม่เคร่งมาก ก็อาจโดนปรับแค่ค่าไม่ติดแผ่นป้ายกับ พรบ. ครับ ค่าปรับตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน แต่โอกาส สพม. ปลอมมีเยอะครับถ้าเป็นตัวถ่ายเอกสาร ถ้าตรวจสอบพบว่าเอกสารปลอมก็ยึดรถครับ (รถพวกนี้รู้สึกว่าจะทำ พรบ.ประกันภัยจากรถได้ครับ ถ้าทำก็โดนจับแค่ข้อหาไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนครับ)
- รถอินวอย สพม. แท้
- รถแบบนี้โอกาสโดนจับเช่นเดียวกับข้างบนครับ แต่ชัวร์กว่าตัวถ่ายเอกสาร เพราะเอกสารแท้ปลอมยากครับ ปรับข้อหา พรบ. แผ่นป้าย หลัก 100-1000 (รถพวกนี้รู้สึกว่าจะทำ พรบ.ประกันภัยจากรถได้ครับ ถ้าทำก็โดนจับแค่ข้อหาไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนครับ)
- รถสำเนาทะเบียน
- อาจเกิดจากการเอาเล่มไปจำนำ ขายเล่มแยกไป หรือปลอมขึ้นมาก็ได้ หากเป็นสำเนาแท้ สามารถต่อทะเบียนไรได้หมดปกติ (จริงๆสวมก็ต่อได้ คนที่ทำทะเบียนสวมหรือเจ้าหน้าที่เขาดูจากลายเซนต์ละรู้กัน รถผมก็เคยโดนคนอื่นสวมแต่ผมเปลี่ยนเลข คนสวมเลยต่อทะเบียนไม่ได้) อันนี้ความปลอดภัยในระดับนึง แทบจะไม่โดนไรเลยถ้าเข้าด่านครับ แต่ถ้าด่านไหนจับตรวจสอบละเป็นเอกสารปลอมก็ปรับหนักแน่นอนครับข้อหาปลอมแปลงเอกสารราชการ
- รถสวมทะเบียน
- มี 2 กรณี คือ สวมแบบเลขไม่ตรง กับสวมแบบเลขตรงคือตอกคอตอกเครื่อง กรณีแรกนะครับ เลขไม่ตรง เข้าด่านโอกาสรอดเยอะครับ ตำรวจในด่านส่วนใหญ่ไม่สนเลข มีเอกสารมีทะเบียนต่อครบไม่ขาด ผ่านครับ แต่ถ้าตรวจพบว่าสวมเลขไม่ตรงก็ซวยครับ โดนยึดรถแน่นอนปรับเป็นหมื่น กรณีที่2เลขตอกให้ตรง โอกาสเข้าด่านสบายครับรอดสูง ตำรวจส่วนใหญ่ไม่เคร่งพอจะดูเลข แต่ถ้าเคร่งก็ยังผ่านเพราะเลขตรง (ต้องขูดตอกเนียนๆนะคับ ถ้าน่าเกลียดก็เข้ากรณีแรก) แบบนี้เรียก "ทะเบียนโอนนอก" เวลาจะโอน ต่อทะเบียน หรือทำธุระกรรมทางรถ ต้องจ้างทำเน้นเส้นสายครับผม ถ้าเข้าขนส่งเองโดนยึดรถแน่นอน
- ทะเบียนแท้
- กรณีนี้สบายสุดครับ รอดทุกด่าน ถ้าต่อทะเบียนครบเอกสารปัจจุบันขี่ไม่กวนตีนท่อไม่ดัง แต่งไม่เวอร์ เคารพกฏ ยังไงก็รอด ส่วนใหญ่จะโดนจับข้อหาหมวกกันน็อค ท่อดัง รถแต่งครับ ถ้าทะเบียนไม่ขาดต่อนะ รถกรณีนี้ราคาจะสูงสุดถ้าเทียบกะรถอินวอยคือแพงกว่าอินวอยประมาณเท่าตัวครับ
- เข้าเว็ปไซต์ SMOKYBIKE.COM
- สมัครสมาชิกและเข้าสู่ระบบ
- คลิ๊กปุ่ม “ลงประกาศ ฟรี”
- เลือกประเภทสินค้าที่ต้องการขาย
- กรอกข้อมูลสินค้าให้เรียบร้อย
- คลิ๊กลงประกาศขายก็จะเป็นการประกาศขายเรียบร้อย